เคลียร์ชัด! การรักษารากฟัน คือ การครอบฟัน จริงหรือไม่?

แต่ในความเป็นจริงแล้ว การรักษารากฟันและการครอบฟันถือว่าเป็นการรักษาเพื่อจุดประสงค์ที่ต่างกันโดยสิ้นเชิง มารู้จักรายละเอียดและความแตกต่างของการรักษาทั้งสองแบบนี้ พร้อมไขทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับการครอบฟันและการรักษารากฟันได้ในบทความนี้

สุขภาพของฟันเป็นปัจจัยสำคัญที่ชี้วัดความแข็งแรงของสุขภาพช่องปาก อย่างไรก็ดี เมื่อส่วนรากฟันมีปัญหาและต้องได้รับการรักษา ใครหลายคนมักเข้าใจว่า การรักษารากฟัน คือ การครอบฟันรูปแบบหนึ่ง เนื่องจากในหลาย ๆ เคส ทันตแพทย์จะทำการครอบฟันร่วมกับการรักษารากฟันไปด้วย

การรักษารากฟันต่างจากครอบฟันไหม?

เข้าใจ ‘การรักษารากฟัน’

‘เนื้อเยื่อโพรงประสาทฟัน’ ที่อยู่ในฟัน ไม่เพียงแต่จะเป็นศูนย์รวมของเส้นประสาท เส้นเลือด ที่มาหล่อเลี้ยงฟันเท่านั้น แต่เนื้อเยื่อที่บริเวณดังกล่าวนี้ยังสามารถต้านทานการอักเสบได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อย่างไรก็ดี ด้วยพฤติกรรมการใช้ชีวิตจนทำให้เกิดปัญหาฟันผุอย่างรุนแรง หรือประสบอุบัติเหตุจนฟันแตกและได้รับการกระแทกอย่างรุนแรง ไปจนถึงมีประวัติการบาดเจ็บของฟันมาก่อน อาจเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เนื้อเยื่อโพรงประสาทฟันที่เคยแข็งแรงได้รับความเสียหาย จนเกิดการติดเชื้อทำให้มีหนองที่บริเวณรากฟันได้

ความเสียหายและการติดเชื้อที่เกิดขึ้นบริเวณ ‘เนื้อเยื่อโพรงประสาทฟัน’ นี้ เป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการปวดฟันอย่างรุนแรงจนส่งผลต่อชีวิตประจำวัน โดยบางเคสอาจรู้สึกถึงอาการปวดจนไม่สามารถนอนหลับ หรือ เคี้ยวอาหารได้

นอกจากนี้ เนื้อเยื่อโพรงประสาทฟันที่มีการติดเชื้อยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคอย่างดี ซึ่งนอกจากจะเพิ่มโอกาสเสี่ยงให้ ‘ฟันตาย’ แล้ว เชื้อโรคที่เกิดขึ้นยังบ่อนทำลายสุขภาพช่องปากและยังสามารถลุกลามกลายเป็นปัญหาสุขภาพด้านอื่นได้

แม้จะยังไม่มีรายงานยืนยันแน่ชัด แต่เชื้อโรคที่ทำให้ฟันผุอย่าง ‘สเตร็ปโตคอคคัส’ ก็สามารถส่งผลเสียต่อหัวใจได้ เนื่องจาก ‘สเตร็ปโตคอคคัส’ เป็นเชื้อโรคที่ตรวจพบในผู้ป่วยโรคหัวใจอย่างเยื่อบุหัวใจอักเสบ และ ลิ้นหัวใจอักเสบ ซึ่งหากเนื้อเยื่อโพรงประสาทฟันเสียหายจากปัญหาฟันพุก็อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ หรือ เพิ่มความรุนแรงให้กับโรคหัวใจที่เป็นอยู่ได้เช่นกัน

8 ขั้นตอนพื้นฐานการรักษารากฟัน

การรักษารากฟัน คือ การรักษาฟันที่เกิดการเสื่อมสภาพของโพรงประสาทฟัน ซึ่งทันตแพทย์จะทำการกำจัดเนื้อเยื่อโพรงประสาทฟันและทำความสะอาดคลองรากฟันที่เกิดความเสียหาย หรือ มีการติดเชื้อ โดยจะทำการรักษารากฟัน ตาม 8 ขั้นตอนพื้นฐาน ดังนี้

  1. ทันตแพทย์ประเมินระดับความเสียหายและความรุนแรงของการติดเชื้อที่โพรงประสาทฟัน เพื่อวางแผนการรักษาต่อไป
  2. กรอฟันเพื่อเปิดช่องไปสู่โพรงประสาทฟัน
  3. ใช้เครื่องมือที่มีลักษณะคล้ายเข็มขนาดเล็กเพื่อนำเอาเนื้อเยื่อโพรงประสาทฟันที่มีการติดเชื้อออกทั้งหมด
  4. ทำความสะอาดหนอง ฝี และการติดเชื้อบริเวณใกล้เคียงทั้งหมด
  5. ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อทำความสะอาดคลองรากฟันและใส่ยาฆ่าเชื้อที่คลองรากฟัน
  6. ใช้วัสดุอุดคลองรากฟัน เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้ามา
  7. หลังจากที่รักษาจนอาการติดเชื้อหายทั้งหมดแล้ว ซึ่งโดยส่วนใหญ่มักจะใช้เวลา 2 – 4 ครั้งตามความรุนแรงของการติดเชื้อ ตำแหน่งของฟัน และความยากง่ายในการรักษา ทันตแพทย์จะวางแผนและทำการบูรณะฟันให้กลับมาใช้งานได้ปกติ ด้วยการทำเดือยฟัน ตามด้วยการครอบฟัน
  8. หากการรักษาทั้งหมดนี้ยังไม่ได้ผล หรือ อาการติดเชื้อมีความรุนแรงมาก ทันตแพทย์อาจลงความเห็นให้ผ่าตัดปลายรากฟันเพิ่ม หรือ ถอนฟันแล้วใส่รากฟันเทียม
ทำไมรักษารากฟันแล้วต้องครอบฟัน

รู้จัก ‘การครอบฟัน’

จะเห็นได้ว่า การรักษารากฟันจะมีการครอบฟันเป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนการบูรณะฟันด้วย ซึ่งถึงจะเป็นเช่นนั้น การครอบฟันก็ไม่ใช่การรักษารากฟันอย่างที่หลายคนเข้าใจ

สำหรับ ‘การครอบฟัน’ จะเป็นการซ่อมแซม หรือ บูรณะฟันที่เกิดความเสียหายให้กลับมาแข็งแรงและสามารถใช้งานได้เป็นปกติ เช่น การซ่อมแซมฟันแตก ฟันหัก และฟันบิ่นจากการเกิดอุบัติเหตุ ไปจนถึงการบูรณะเนื้อฟันที่เสียหายจากปัญหาฟันผุ

นอกจากนี้ การครอบฟันยังเป็นการรักษาที่ช่วยตกแต่งทรงฟันที่ผิดรูป หรือ ไม่ได้สัดส่วนให้ดูเป็นระเบียบสวยงามมากขึ้น ซึ่งเป็นหนึ่งในทางเลือกที่ช่วยพัฒนาบุคลิกภาพและเสริมความมั่นใจให้รอยยิ้มได้

7 ขั้นตอนของการครอบฟัน

การครอบฟัน คือ การนำวัสดุเสมือนฟัน หรือ ฟันเทียม มาครอบลงบนฟันที่ต้องการจะบูรณะ ตามขั้นตอนดังนี้

  1. ทันตแพทย์จะทำการตรวจสอบสุขภาพช่องปากโดยรวมทั้งหมด ทั้งสภาพเหงือก การสบฟัน ตลอดจนทำการเอกซเรย์เพื่อเช็กปัญหาสุขภาพภายในช่องปากทั้งหมด และวางแผนการรักษาต่อไป
  2. ผู้เข้ารับการรักษากับทันตแพทย์จะเลือกสีฟันที่เหมาะสม รวมทั้งชนิดของครอบฟันที่เหมาะสมตามคำแนะนำของทันตแพทย์ โดยในปัจจุบันนี้ วัสดุครอบฟันจะมีด้วยกันทั้งหมด 5 ชนิด ประกอบไปด้วย
    ครอบฟันเซรามิกล้วน เป็นครอบฟันที่ใช้วัสดุเซรามิกทั้งหมด จะมีสีสวยใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติมากที่สุด และเหมาะสำหรับผู้แพ้โลหะ แต่ต้องกรอฟันออกมากกว่า เพราะต้องมีความหนามากกว่าโลหะ
    ครอบฟันโลหะเคลือบเซรามิก เป็นครอบฟันที่มีโครงสร้างด้านในเป็นวัสดุทำจากโลหะ ทำให้มีความแข็งแรงเทียบเท่ากับครอบฟันด้วยวัสดุโลหะ แต่จะทำการตกแต่งด้านนอกเป็นเซรามิกให้มีสีคล้ายกับฟัน จึงมีความสวยงามใกล้เคียงฟันธรรมชาติ แต่จะไม่เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาการนอนกัดฟัน หรือ ชอบรับประทานอาหารที่มีความเหนียวและแข็งเพราะส่วนของเคลือบเซรามิกอาจบิ่นแตกได้
    ครอบฟันวัสดุโลหะ เป็นครอบฟันที่มีความแข็งแรงสูง ทนทานต่อการบดเคี้ยว ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มักใช้วัสดุจำพวกทอง พาลาเดียม ทองคำขาว นิกเกิล ทำให้เห็นสีครอบฟันที่ชัดเจน
    ครอบฟันเหล็กกล้า คือ การครอบฟันสำเร็จรูปทำด้วยวัสดุแสตนเลส นิยมใช้กับฟันน้ำนม และสามารถหลุดออกได้
    ครอบฟันเรซิน เป็นการครอบฟันโดยทำจากวัสดุพลาสติกเพื่อทดสอบประสิทธิภาพครอบฟันและความรู้สึกของคนไข้ก่อนใส่ครอบฟันตัวจริง
  3. หลังจากที่เลือกวัสดุครอบฟันได้แล้ว ทันตแพทย์จะลงมือกรอฟันให้เหมาะสมกับวัสดุครอบ จากนั้นจึงพิมพ์ฟันและเลือกสีฟันที่ต้องการ สุดท้ายจึงใส่ที่ครอบฟันชั่วคราวให้กับคนไข้ก่อน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการครอบฟันเรซิน
  4. เมื่อสั่งทำวัสดุครอบฟันเสร็จเรียบร้อย ทันตแพทย์จะนัดคนไข้เข้ามาใส่เครื่องมือและทดสอบความพอดีของขอบวัสดุครอบ อาจมีการกรอฟันเพิ่มเติมเล็กน้อยเพื่อให้ใส่เครื่องมือได้พอดี สุดท้ายจึงทำการเช็กขอบเหงือก รอยต่อของครอบฟัน การสบฟัน และสีของครอบฟัน และความรู้สึกทั้งหมดโดยรวมของคนไข้
  5. หลังจากปรับแต่งเสร็จเรียบร้อย ทันตแพทย์จะใช้กาวทางทันตกรรมยึดครอบฟันเข้ากับฟัน
  6. เมื่อยึดครอบฟันถาวรแล้วทันตแพทย์จะให้คนไข้กลับไปใช้งาน อน่างน้อย 1 อาทิตย์ แล้วนัดกลับมาตรวจเช็คอีกรอบ
  7. คนไข้จะต้องแปรงฟันให้ถูกต้องและใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ พร้อมเข้ารับการตรวจเช็กสุขภาพช่องปากทุก 6 เดือนเพื่อเป็นการรักษาเนื้อฟันเดิม
  8. หากพบความผิดปกติทั้งในเรื่องการสบฟัน การเคี้ยว รวมไปถึงมีอาการปวดบวม และรู้สึกแปลก ๆ กับการเคลื่อนตัวของวัสดุครอบ หรือ ความรู้สึกเสียวฟัน ควรรีบไปพบทันตแพทย์ทันที เนื่องจากความผิดปกติเพียงเล็กน้อยอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพเนื้อฟันที่อยู่ภายในได้ในระยะยาว

3 คำถามยอดฮิตเกี่ยวกับการรักษารากฟันและการครอบฟัน

จะเห็นได้ว่า การรักษารากฟันและการครอบฟันนั้นเป็นการรักษาที่มีความเกี่ยวข้องกัน แต่จะมีจุดประสงค์ในการรักษาที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

อย่างไรก็ดี หลังจากทราบรายละเอียดทั้งหมดของการรักษาทั้งสองแบบนี้แล้ว ในจุดนี้บางคนเองก็อาจเกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับการครอบฟันและรักษารากฟันเช่นกัน ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็น 3 คำถามยอดฮิต ดังนี้

ไม่รักษารากฟันแต่ถอนฟันทิ้งได้หรือไม่?

คำตอบ คือ สามารถเลือกที่จะไม่รักษารากฟัน แต่ถอนฟันแทนได้ แต่ไม่แนะนำให้ทำ เนื่องจากจะทำให้ประสิทธิภาพในบดเคี้ยวอาหารลดลง เพราะสูญเสียฟันธรรมชาติออกไป อีกทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้ฟันซี่อื่น ๆ ล้มได้ในอนาคต แต่จะมีข้อยกเว้นในกรณี ดังนี้

  • ฟันเหลือน้อยจนไม่สามารถบูรณะได้
  • โพรงประสาทฟันมีความเสียหายและรอยร้าวจนถึงรากฟัน มีความเสี่ยงที่เชื้อโรคจะแทรกตัวไปตามรอยร้าวและเกิดการติดเชื้อตามมา
  • มีโรคแทรกซ้อน เช่น โรคเหงือกรุนแรง กระดูกฟันละลาย หรือปัญหาฟันโยกรุนแรง
  • คนไข้มีการรักษาทางทันตกรรมด้านอื่น เช่น มีการจัดฟันและต้องเปลี่ยนแผนการรักษาการจัดฟัน จึงต้องปรึกษาร่วมกับทันตแพทย์จัดฟันก่อนที่จะถอนฟันทิ้ง

ทำไมรักษารากฟันแล้วต้องครอบฟัน?

คำตอบ คือ การครอบฟันเป็นหนึ่งในวิธีบูรณะฟันหลังจากที่ทำการรักษารากฟันเสร็จเรียบร้อย โดยการรักษารากฟันจะเป็นการกรอเนื้อฟันเพื่อเปิดช่องสู่โพรงประสาทฟัน ถือเป็นการลดประสิทธิภาพการทำงานของฟันรูปแบบหนึ่งอยู่แล้ว ซึ่งครอบฟันจะเข้ามาป้องกันปัญหาฟันแตกเพิ่มในอนาคต รวมทั้งช่วยเสริมความแข็งแรง และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานให้กับฟันที่เนื้อฟันถูกกรอไปมาก

การครอบฟันเหมือนการทำวีเนียร์หรือไม่ จำเป็นแค่ไหน ต้องทำบ่อยไหม?

คำตอบ คือ วีเนียร์จะเป็นการเคลือบผิวฟันเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ส่วนใหญ่จะเป็นการรักษาเพื่อจุดประสงค์ด้านความงามและความมั่นใจ แต่การครอบฟันจะเป็นการใช้วัสดุเสมือนฟันครอบลงไปที่ตัวฟัน มีจุดประสงค์เพื่อบูรณะและซ่อมแซมฟันเป็นหลัก

ทั้งครอบฟันและวีเนียร์จะทำ 1-2 ครั้ง อายุการใช้งานขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาและปัญหาแทรกซ้อนหลังจากการทำ

จบลงไปแล้วกับทุกรายละเอียดเกี่ยวกับการรักษารากฟันและครอบฟัน เท่านี้ทุกคนก็หมดทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับการรักษาทางทันตกรรมทั้งสองแบบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สำหรับใครที่ยังสงสัยถึงการรักษารากฟันและครอบฟัน ตลอดจนไม่แน่ใจว่าปัญหาฟันของตนเองควรวางแผนการรักษาอย่างไรให้เหมาะสม

คลินิกทันตแพทย์สว่าง คลินิกทันตกรรมอันดับ 1 ย่านรังสิต พร้อมช่วยคุณวางแผนการรักษารากฟันและครอบฟันอย่างมีประสิทธิภาพ เห็นผลลัพธ์ และตอบโจทย์ความต้องการอย่างครอบคลุม ให้บริการและการรักษาโดยทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เป็นหมอฟันหนึ่งเดียวในปทุมธานีที่มีประสบการณ์ระดับอาจารย์นานกว่า 40 ปี และได้รับการรับรองจากทั้ง American Board of Oral Implantology และ American Board of Prosthodontics สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ Line : @swcdental (มี @ ด้วย ) หรือ โทร. 064-465-0565