ข้อต่อขากรรไกร
Temporomandibular Disorder

ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร หรือ TMJ (temporomandibular joint disorder)
คือ การทำงานที่ผิดปกติของข้อต่อระหว่างขากรรไกรบนและล่าง ส่งผลต่อการเคลื่อนขากรรไกรล่างไปข้างหน้า หลัง และด้านข้าง ปัญหาใด ๆ  ซึ่งอาจทำให้เรารู้สึกว่ากระดูกขากรรไกรของเรามีการเคลื่อนที่ หรือติดค้างในชั่วขณะ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะหาสาเหตุไม่ได้

ลักษณะปกติของข้อต่อขากรรไกรข้อต่อขากรรไกร
เป็นข้อขนาดเล็กอยู่ที่บริเวณหน้าหูสองข้างและเป็นส่วนที่สำคัญมาก ทำหน้าที่ร่วมกับกล้ามเนื้อบดเคี้ยวช่วยในการอ้าและหุบปากเพื่อเคี้ยวอาหาร ภายในข้อต่อขากรรไกรประกอบด้วยแคปซูลหุ้มข้อ แผ่นรองข้อ น้ำไขข้อ ช่วยให้ข้อไม่ฝืดและเคลื่อนที่ได้ดี

อาการของความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกรมีอะไรบ้าง
ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกรมีอาการและสัญญาณเตือนได้หลายประการ  เนื่องอาการบางอย่างอาจจะเป็นปัญหาอื่นๆ ทันตแพทย์สามารถช่วยวินิจฉัยได้ด้วยการตรวจสอบประวัติการรักษา การตรวจในคลินิค และการเอ็กซเรย์

อาการที่พบได้บ่อยคือ:

  1. อาการปวดศรีษะ (มักจะถูกคิดว่าเป็นอาการของไมเกรน) อาการปวดหู และอาการปวดบริเวณหลังตา
  2. เสียงคลิกเวลาอ้าปากหรือหุบปาก
  3. อาการปวดจากการหาว การอ้าปากกว้าง หรือการเคี้ยวอาหาร
  4. ขากรรไกรค้าง
  5. อาการเจ็บที่กล้ามเนื้อขากรรไกร
  6. ความเปลี่ยนแปลงกระทันหันของการสบกันระหว่างฟันบนและฟันล่าง

ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกรสามารถรักษาได้อย่างไร
ต้องอาศัยความร่วมมือของผู้ป่วย โดยทันตแพทย์จะเริ่มจากการซักประวัติของผู้ป่วยอย่างละเอียด ในบางรายอาจต้องเอกซเรย์บริเวณขากรรไกร เพื่อหาสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรค เพื่อประเมินความรุนแรงของอาการและเพื่อการวินิจฉัยโรคที่ถูกต้องแม่นยำ การรักษามีหลายวิธี แม้ว่าจะยังไม่มีวิธีการรักษาที่แน่นอนสำหรับความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร แต่ก็ยังมีหลายวิธีที่จะสามารถช่วยลดอาการได้อย่างมาก

  1. การบริหารกล้ามเนื้อและข้อต่อขากรรไกร
  2. การประคบร้อนหรือประคบเย็น
  3. การพยายามลดความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อด้วยยาคลายกล้ามเนื้อ แอสไพริน หรือยาแก้ปวดอื่น ๆ หรือยาแก้อักเสบ หรือยาคลายเครียด
  4. การลดผลกระทบที่อันตรายเช่น การเกร็งและการกระทบ ด้วยการใส่อุปกรณ์ที่ป้องกันการกระทบของฟันบนและล่างฟัน (Occlusal stabilizing splint) เพื่อรักษาอาการปวด และช่วยรักษาการนอนกัดฟัน
  5. การทำกายภาพบำบัด ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น นวดด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound massage) การใช้เครื่องเท็นส์ (Trans electrical nerve stimulation หรือ TENS) การใช้เลเซอร์ระงับปวด (Low level laser) เพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัวและลดอาการปวด
  6. การเรียนรู้ที่จะผ่อนคลายเพื่อควบคุมความตึงเครียดของกล้ามเนื้อในขากรรไกร
  7. ถ้าข้อต่อขากรรไกรได้รับผลกระทบ และวิธีการรักษาอื่นไม่ได้ผล การผ่าตัดข้อต่อขากรรไกรอาจเป็นทางเลือก

การรักษาโดยส่วนมากไม่ต้องทำการผ่าตัด  สามารถรักษาให้หายได้ แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจกลับมาเป็นซ้ำหรือมีอาการเรื้อรังได้ การรักษาอาการปวดเรื้อรังต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ป่วย เนื่องจากมีข้อปฎิบัติหลายอย่างที่ผู้ป่วยจำเป็น ต้องกลับไปปฏิบัติเองที่บ้าน และเมื่อมีอาการปวดของทีเอ็มดี ไม่ควรปล่อยปะละเลยโดยคิดว่าไม่เป็นอะไร เนื่องจากอาจทำให้มีปัญหาเรื้อรังตามมาได้ เพราะถ้าหากปล่อยทิ้งไว้จนมีอาการปวดเรื้อรังก็ จะทำให้การรักษายากยิ่งขึ้น