ปวดฟันเกิดจากอะไร? รู้ทันสาเหตุจากอาการปวด!

อาการปวดฟันมีทั้งแบบปวดจี๊ด ๆ ปวดตุบ ๆ และอีกหลากหลายอาการปวด แต่รู้หรือไม่ว่าในแต่ละอาการปวดยังสามารถบ่งบอกได้ถึง “สาเหตุ” ว่าแท้จริงแล้ว อาการปวดฟันเหล่านี้เกิดจากอะไรกันแน่ ในบทความนี้เราจะพาไปรู้ถึงสาเหตุและการป้องกัน รวมถึงวิธีรักษาอาการปวดฟันให้หายเป็นปลิดทิ้ง ด้วยคำแนะนำที่เหมาะสมจากทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

4 อาการปวดฟันบอกสาเหตุ ปวดแบบนี้เกิดจากอะไร?

อาการปวดจี๊ดที่ฟันเกิดได้จากหลากสาเหตุด้วยกัน อีกทั้งอาการปวดที่แตกต่างกันยังสามารถบอกถึงบริเวณที่เกิดปัญหาได้ โดยอาการปวดฟันจะแบ่งได้ทั้งหมด 4 แบบ ดังนี้

  • อาการปวดจี๊ด ปวดแปลบ ๆ : เกิดจากอาการฟันผุ ฟันกร่อน ฟันร้าว และอาจร้ายแรงไปถึงชั้นโพรงประสาทฟัน
  • อาการปวดแบบตุบ ๆ : เกิดจากโรคเหงือกอักเสบและโรคปริทันต์ อาจเกิดการอักเสบและติดเชื้อของเหงือกและกระดูกที่รองรับฟัน ส่งผลให้ฟันโยกคลอน มีกลิ่นปาก นอกจากนี้ ในรายที่มีอาการฟันผุลึกยังสามารถปวดในลักษณะนี้ได้เช่นกัน
  • อาการปวดเหงือก มีเลือดออกตามไรฟัน: มักเกิดจากโรคเหงือกอักเสบหรือโรครำมะนาด หากเป็นหนักจนทำลายเบ้าฟัน อาจต้องต้องถอนฟันซี่นั้นออก
  • ปวดบริเวณหน้าหู ข้อต่อขากรรไกร อ้าปากแล้วเสียงกึกกัก: เกิดจากโรคข้อต่อขากรรไกรอักเสบ หากรู้สึกผิดปกติควรรีบไปพบทันตแพทย์ทันที

แน่นอนว่าอาการปวดฟันทั้งหมด ย่อมมีสาเหตุมาจากการดูแลรักษาที่ไม่เหมาะสม จนทำให้เกิดโรคทางทันตกรรมที่ส่งผลต่อสุขภาพฟัน จนกลายเป็นปัญหาในระยะยาว ซึ่งทางที่ดีที่สุดในการรักษาคือการไปพบทันตแพทย์ เพื่อทำการวินิจฉัยและเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ยังไม่มีอาการ ก็สามารถดูแลเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดได้เช่นเดียวกัน

วิธีป้องกันอาการปวดฟัน

สำหรับคนที่ยังไม่มีอาการ และไม่อยากเจอกับอาการปวดฟัน สามารถเริ่มต้นดูแลตัวเอง ด้วยวิธีป้องกันอาการปวดฟันเหล่านี้

รวมวิธีป้องกันอาการปวดฟัน ทำอย่างไรได้บ้าง

1. ใส่ใจทุกการทำความสะอาดช่องปากและฟัน 

โดยเลือกใช้แปรงสีฟันขนนุ่ม ร่วมกับการใช้ไหมขัดฟันในการทำความสะอาดทุก ๆ วัน อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง รวมไปถึงการเลือกยาสีฟันที่จะต้องมีส่วนผสมของฟลูออไรด์ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของสารเคลือบฟัน ทำให้ฟันทนทานต่อกรด ที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดฟันผุในอนาคต

2.ตรวจสุขภาพฟันเป็นประจำทุก 6 เดือน 

เข้ารับการตรวจสุขภาพฟันเป็นประจำ โดยระยะเวลาที่เหมาะสมจะอยู่ที่ทุก ๆ 6 เดือน เพื่อหาสัญญาณของปัญหาสุขภาพฟัน เช่น ฟันผุ โรคเหงือกอักเสบ หินปูน หรือโรคปริทันต์ จะได้ทำการรักษาได้อย่างทันท่วงทีก่อนที่จะลุกลาม นอกจากนี้ยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้อีกด้วย

3. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีกรดและน้ำตาลสูง

อีกหนึ่งวิธีป้องกันอาการปวดฟันที่ควรปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด คือการมีวินัยในการเลือกรับประทานอาหาร และควรเลี่ยงอาการที่มีกรดและน้ำตาลสูง เพื่อป้องกันไม่ให้ฟันผุ หรือสึก ไปทำลายเนื้อฟัน นอกจากนี้ น้ำตาลยังเป็นอาหารชั้นยอดของแบคทีเรียในช่องปาก หากไม่อยากฟันผุก็ควรหลีกเลี่ยงให้ได้มากที่สุด

4. หลีกเลี่ยงการเคี้ยวอาหารแข็ง ๆ

เลี่ยงการเคี้ยวอาหารแข็ง ๆ จำพวกเมล็ดถั่ว เมล็ดแตง น้ำแข็ง ขนมขบเคี้ยวกรอบ ๆ รวมไปถึงเปลือกปู เพื่อป้องกันไม่ให้ฟันแตกหรือบิ่น ซึ่งอาจเสียหายไปถึงโพรงประสาทฟันที่ส่งผลให้เกิดอาการปวดหรือเสียวแปลบ ๆ ได้

คำแนะนำในการบรรเทาอาการปวดฟันเบื้องต้น

  • ลดสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการปวดหรือรบกวนประสาทฟัน: งดอาหารประเภทของเย็นจัดหรือร้อนจัด รวมไปถึงอาหารที่มีรสชาติหวานหรือเปรี้ยว เพื่อลดการกระตุ้นที่เกิดต่อประสาทฟัน ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการเสียวหรือปวดมากกว่าเดิม
  • ลดการกระทบกระแทกกับฟันซี่ที่ปวด: เพื่อป้องกันไม่ให้อาการปวดฟันเป็นมากขึ้น 
  • รับประทานยาแก้ปวด: สามารถทานได้ทั้งไอบูโพรเฟน (ibuprofen) หรือพาราเซตามอล (paracetamol) เพื่อบรรเทาอาการปวดให้ทุเลาลงได้

อย่างไรก็ตาม วิธีเหล่านี้เป็นเพียงการบรรเทาอาการปวดชั่วคราวเท่านั้น และไม่สามารถรักษาอาการปวดได้อย่างถาวร โดยวิธีที่เหมาะสมที่สุดคือการไปพบทันตแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกวิธี สำหรับใครที่อยู่ในโซนรังสิต-คลองหลวง สามารถเข้ามาใช้บริการกับคลินิกทันตแพทย์สว่างได้ทุกวัน พร้อมรับการรักษาอาการปวดฟันอย่างใกล้ชิดจากทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ที่มีประสบการณ์มายาวนานกว่า 45 ปี สอบถามข้อมูลและนัดหมายเข้าพบทันตแพทย์ได้ที่ @swcdental (มี @ ด้วย) หรือ โทร. 064-465-0565 เปิดบริการทุกวัน เวลา 9.00-20.00 น.

 

ข้อมูลอ้างอิง: 

  1. Are There Different Types of Toothache?. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 จาก https://www.grandvalleydentistry.com/blog/are-there-different-types-of-toothache/